ออสเตรเลีย กับงานยากในการดูแลแนวปะการังใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อวันอังคาร (1 ส.ค.)ที่ผ่านมา คณะกรรมการยูเนสโกได้ถอดแนวปะการัง "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" ออกจากรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย แต่รัฐบาลออสเตรเลียต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการฟื้นฟูส่งให้แก่ยูเนสโกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2024 ซึ่งถ้าหากทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เกรตแบร์ริเออร์รีฟก็จะกลับไปอยู่ในบัญชีแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในอันตรายอีกครั้ง ซึ่งเป็นสถานะที่เสี่ยงต่อการถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลก

ยูเนสโกจ่อขึ้นทะเบียน “เวนิส” เป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย

นักวิทย์ฯ รัสเซีย ปลูกแตงโมขั้วโลกใต้สำเร็จแม้จะหนาวเหน็บที่สุดในโลก

ป่าแอมะซอน ลดลง 66 % แม้การตัดไม้ทำลายป่าอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี

เมื่อปีที่แล้ว ยูเนสโกบรรจุชื่อแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลงไปในบัญชีแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย หลังมีการชี้ว่า แนวปะการังดังกล่าวกำลังเผชิญกับเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่อยู่บ่อยครั้ง หลังจากนั้น ออสเตรเลียก็ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อดูแลเกรคแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งถือว่าสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นเงินจำนวน 6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 136,305 ล้านบาท และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานจำนวน 64,000 ตำแหน่ง

อย่างไรก็ตาม ทางยูเนสโกระบุว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟยังคงอยู่ในสถานะ "เสี่ยงอย่างร้ายแรง" จากปัญหามลพิษและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานล่าสุด คณะกรรมการยูเนสโกได้ระบุถึงความเคลื่อนไหวในเบื้องต้นและการให้คำมั่นจากรัฐบาลออสเตรเลียที่จะอนุรักษ์แนวปะการังดังกล่าวเอาไว้

โดยรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีให้คำมั่นที่จะทุ่มงบ 1,200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อปกป้องเกรตแบร์ริเออร์รีฟ สั่งถอนการให้งบประมาณของรัฐในการก่อสร้างเขื่อน บอกปัดการให้ใบอนุญาตทำเหมืองถ่านหิน เพราะทั้งสองสิ่งนี้อาจจะไปส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำทะเลในจุดที่ปะการังอยู่

รัฐบาลออสเตรเลียยังชี้ว่า เอกสารของยูเนสโกเป็นเครื่องยืนยันว่า ที่ผ่านมา ออสเตรเลียทำได้เป็นอย่างดีในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และทำงานหนักเพื่อปกป้องแนวปะการังดังกล่าว

อัลบาเนซีกล่าวว่า "ร่างข้อสรุปดังกล่าวชี้ อ้างถึง "ความก้าวหน้าที่สำคัญ" ในเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และการประมงที่ยั่งยืน ทั้งหมดทำให้แนวปะการังแข็งแรงขึ้น และเป็นหนทางสู่ความยั่งยืนมากขึ้น ในขณะที่ร่างข้อสรุปดังกล่าวจัดทำโดยละเอียด นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของออเสตรเลียได้เปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐาน ภายใต้การนำของรัฐบาลพรรคแรงงาน และเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า"คำพูดจาก เว็บสล็อต777

แต่ก่อนที่จะมีการยื่นรายงานให้แก่ยูเนสโกอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ร่างข้อสรุปดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอีกครั้งในที่ประชุมของยูเนสโก้ในเดือนกันยายนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย

เมื่อปีที่แล้ว รายงานของยูเนสโกได้ระบุถึงข้ันตอนต่างๆ ที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องลงมือทำ เพื่อปกป้องแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การทำประมงอย่างยั่งยืน และการไม่ใช้อวนลอย นอกจากนี้ ยังระบุให้รัฐบาลออสเตรเลียควรให้คำมั่นเพื่อตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกใบนี้ไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสก่อนยุคอุตสาหกรรม

นับตั้งแต่ออสเตรเลียได้รับรายงานชิ้นนี้ รัฐบาลออสเตรเลียก็พยายามที่จะทำตาม โดยออสเตรเลียตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 43 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 และจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ภายในปี 2050

ถึงแม้ออสเตรเลียจะทำได้ดีจนถึงปัจจุบัน แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์แนวปะการังกำลังเป็นกังวล เพราะคาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ปะการังเกิดการฟอกข่าวมากยิ่งขึ้นในฤดูร้อนปีนี้

โจดี รัมเมอร์ นักชีววิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยเจมส์คุก บอกว่า "สภาพอากาศที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิร้อนขึ้นอย่างคาดไม่ถึง เป็นอะไรที่ค่อนข้างน่ากังวล กำลังคืบคลานเข้ามาในฤดูร้อนของเรา ด้วยวัฎจักรของปรากฏการณ์เอลนีโญ และแน่นอนว่ามันจะทำให้เกิดอันตรายต่อเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ดังนั้นเราจึงยังไม่สามารถที่จะฉลองได้ค่ะ"

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หน่วยงานของสหประชาชาติ เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโลก สูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมทั้งเตือนว่า ความร้อนที่แผ่ไปใต้ท้องทะเลทั่วโลก กระจายไปเร็วยิ่งกว่าบนพื้นผิวเสียอีก

และปรากฏการณ์เอลนีโญ ก็ทำให้อุณหภูมิของทั้งบนบก และในทะเล เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไสู่การเกิดคลื่นความร้อนในทะเล และอุณหภูมิแปรปรวนสุดขั้วอีกด้วย

เมื่อวันอังคาร (1 ส.ค.)ที่ผ่านมา คณะกรรมการยูเนสโกได้ถอดแนวปะการัง "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" ออกจากรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย แต่รัฐบาลออสเตรเลียต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการฟื้นฟูส่งให้แก่ยูเนสโกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2024 ซึ่งถ้าหากทำไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เกรตแบร์ริเออร์รีฟก็จะกลับไปอยู่ในบัญชีแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในอันตรายอีกครั้ง ซึ่งเป็นสถานะที่เสี่ยงต่อการถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลก ยูเนสโกจ่อขึ้นทะเบียน “เวนิส” เป็นมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตราย นักวิทย์ฯ รัสเซีย ปลูกแตงโมขั้วโลกใต้สำเร็จแม้จะหนาวเหน็บที่สุดในโลก ป่าแอมะซอน ลดลง 66 % แม้การตัดไม้ทำลายป่าอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี เมื่อปีที่แล้ว ยูเนสโกบรรจุชื่อแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลงไปในบัญชีแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย หลังมีการชี้ว่า แนวปะการังดังกล่าวกำลังเผชิญกับเหตุการณ์ฟอกขาวครั้งใหญ่อยู่บ่อยครั้ง หลังจากนั้น ออสเตรเลียก็ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อดูแลเกรคแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งถือว่าสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นเงินจำนวน 6 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 136,305 ล้านบาท และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานจำนวน 64,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม ทางยูเนสโกระบุว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟยังคงอยู่ในสถานะ "เสี่ยงอย่างร้ายแรง" จากปัญหามลพิษและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานล่าสุด คณะกรรมการยูเนสโกได้ระบุถึงความเคลื่อนไหวในเบื้องต้นและการให้คำมั่นจากรัฐบาลออสเตรเลียที่จะอนุรักษ์แนวปะการังดังกล่าวเอาไว้ โดยรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีให้คำมั่นที่จะทุ่มงบ 1,200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อปกป้องเกรตแบร์ริเออร์รีฟ สั่งถอนการให้งบประมาณของรัฐในการก่อสร้างเขื่อน บอกปัดการให้ใบอนุญาตทำเหมืองถ่านหิน เพราะทั้งสองสิ่งนี้อาจจะไปส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำทะเลในจุดที่ปะการังอยู่…